17 ก.พ.

<p><span> </span>ศิลปะชั้นเลิศ มักถูกถ่ายทอดจากความรู้สึกนึกคิด และความสามารถของผู้ที่เป็น<strong> "ศิลปินชั้นเอก"</strong> ซึ่งในปัจจุบันมีศิลปินสาขาต่าง ๆ มากมาย ที่สร้างผลงานน่าประทับใจ และเป็นประโยชน์ต่อสังคม ด้วยเหตุนี้ ประเทศไทยจึงกำหนดให้มี <b><a target="_blank" href="https://hilight.kapook.com/view/56456" rel="noopener">วันศิลปินแห่งชาติ</a></b> และจัดให้มีการประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติ <strong>"ศิลปินแห่งชาติ"</strong> เป็นประจำทุกปี</p> <br /> <h3><strong><span>ประวัติความเป็นมา วันศิลปินแห่งชาติ</span></strong></h3> <br /><span> </span><strong><span>วันศิลปินแห่งชาติ ตรงกับวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ของทุกปี</span></strong><span> เนื่องจากตรงกับวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 แห่งราชวงศ์จักรี ผู้เป็นพระปฐมบรมศิลปินแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ด้วยทรงพระปรีชาสามารถในศิลปกรรมด้านต่าง ๆ หลายสาขา ไม่ว่าจะเป็นด้านกวีนิพนธ์ ด้านประติมากรรม และด้านดนตรี ดังนั้น เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ คณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2528 ประกาศให้ วันที่ 24 กุมภาพันธ์ ของทุกปี เป็นวันศิลปินแห่งชาติ<br /></span><br /><span> ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ได้จัดทำโครงการศิลปินแห่งชาติ มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2527 เพื่อสรรหา ส่งเสริม สนับสนุน และช่วยเหลือศิลปินผู้สร้างสรรค์ ผลงาน ศิลปะล้ำค่า อันทรงคุณค่าของแผ่นดิน ยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ โดยมีสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ เป็นผู้พิจารณา</span><br /><br /><br /> <h3><strong><span>ความสำคัญของศิลปินแห่งชาติ</span></strong></h3> <br /><span> ศิลปินแห่งชาติ นับเป็นทรัพยากรบุคคลสำคัญทางด้านศิลปะ ที่ได้สืบสานงานศิลปะของชาติให้เชื่อมโยงจากอดีตมาสู่ปัจจุบัน เป็นการถ่ายทอดภูมิปัญญาของบรรพบุรุษในอดีต ให้มีความรุ่งโรจน์สืบไปยังอนาคตข้างหน้า ซึ่งนับตั้งแต่เริ่มโครงการ ศิลปินแห่งชาติ มาเมื่อปี พ.ศ. 2527 และประกาศผลการคัดเลือกศิลปินแห่งชาติในปีแรกเมื่อ พ.ศ. 2528 จนถึงปัจจุบัน มีศิลปินสาขาต่าง ๆ มาแล้วหลายคน</span><br /><br /><span> </span><strong>สำหรับผู้ที่ได้รับยกย่องเป็นศิลปินแห่งชาติ จะได้รับเงินตอบแทน เดือนละ 20,000 บาท และสามารถเบิกเงินสวัสดิการเพื่อการรักษาพยาบาลได้ตามระเบียบราชการ ไม่เกิน 100,000 บาทต่อปี รวมทั้งมีค่าช่วยเหลือเมื่อประสบสาธารณภัย และหากเสียชีวิต จะมีค่าช่วยเหลืองานศพ 20,000 บาท ค่าจัดทำหนังสือที่ระลึกไม่เกิน 150,000 บาท<br /></strong><br /> <h3><strong><span>คุณสมบัติของศิลปินแห่งชาติ มีดังนี้</span></strong></h3> <br /><span> 1. เป็นผู้มีสัญชาติไทยและยังมีชีวิตอยู่ในวันตัดสิน</span><br /><br /><span> 2. เป็นผู้ที่มีความสามารถ มีความเชี่ยวชาญ และมีผลงานดีเด่น เป็นที่ยอมรับของวงการศิลปินแขนงนั้น</span><br /><br /><span> 3. เป็นผู้สร้างสรรค์และพัฒนาศิลปะแขนงนั้นจนถึงปัจจุบัน</span><br /><br /><span> 4. เป็นผู้ผดุงและถ่ายทอดศิลปะแขนงนั้น</span><br /><br /><span> 5. เป็นผู้ปฏิบัติงานศิลปะแขนงนั้นอยู่ในปัจจุบัน</span><br /><br /><span> 6. เป็นผู้มีคุณธรรมและมีความรักในวิชาชีพของตน</span><br /><br /><span> 7. เป็นผู้มีผลงานที่ยังประโยชน์ต่อสังคมและมนุษยชาติ</span><br /> <h3><strong><span><br /></span></strong><strong><span>การจำแนกสาขาศิลปะของศิลปินแห่งชาติ</span></strong></h3> <div><br /> <span> </span><strong>1. สาขาทัศนศิลป์ (Visual Art)</strong><span> </span>หมายถึง ศิลปะที่มองเห็นได้ด้วยตา จะเป็นศิลปะสองมิติหรือสามมิติ ซึ่งได้แก่ ผลงานศิลปกรรมประเภทต่าง ๆ ที่แสดงถึงภูมิปัญญาของผู้สร้างสรรค์และมีเอกลักษณ์ที่โดดเด่น ดังต่อไปนี้<br /><br /> <span> </span><strong>- จิตรกรรม</strong><span> </span>หมายถึง ภาพเขียนสีและภาพลายเส้น<br /><br /> <span> </span><strong>- ประติมากรรม</strong><span> </span>หมายถึง งานปั้นและแกะสลัก<br /><br /> <strong><span> </span>- ภาพพิมพ์</strong><span> </span>หมายถึง ศิลปะการพิมพ์ด้วยกรรมวิธีต่าง ๆ เช่น การพิมพ์ด้วยแม่พิมพ์ไม้ โลหะ ฯลฯ<br /><br /> <strong><span> </span>- ภาพถ่าย</strong><span> </span>หมายถึง ผลงานศิลปะภาพถ่ายที่เสนอด้วยสื่อและกรรมวิธีต่าง ๆ<br /><br /> <span> </span><strong>- สื่อประสม</strong><span> </span>หมายถึง ผลงานศิลปะที่สร้างสรรค์ขึ้นด้วยกรรมวิธีและเทคนิคต่าง ๆ อย่างอิสระ<br /><br /> <span> </span><strong>2. สาขาศิลปะสถาปัตยกรรม (Architecture)</strong><span> </span>หมายถึง งานออกแบบ หรืองานออกแบบและงานก่อสร้างอาคารสวยงาม มีคุณค่าทางศิลปะ และมีวิทยาการ ซึ่งแสดงภูมิปัญญาของผู้ออกแบบอย่างโดดเด่น ได้แก่ สถาปัตยกรรมไทยและสถาปัตยกรรมร่วมสมัย<br /><br /> <span> </span><strong>3. สาขาวรรณศิลป์ (Literature)</strong><span> </span>หมายถึง บทประพันธ์ที่ปลุกมโนคติของผู้อ่าน ทำให้เกิดจินตนาการความเพลิดเพลิน และเกิดอารมณ์ต่าง ๆ ตามเจตนารมณ์ของผู้ประพันธ์ ได้แก่ กวีนิพนธ์ เรื่องสั้น นวนิยาย บันเทิงคดี สำหรับเด็กและเยาวชน อาทิ หนังสือเด็ก วรรณกรรมเยาวชนที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่อย่างกว้างขวาง<br /><br /> <span> </span><strong>4. สาขาศิลปะการแสดง (Performing Art)</strong><span> </span>หมายถึง ศิลปะที่เกี่ยวข้องกับการแสดง ซึ่งเป็นได้ทั้งแบบดั้งเดิมหรือพัฒนาขึ้นใหม่ ได้แก่<br /><br /> <strong><span> </span>4.1 การละคร</strong><span> </span>ประกอบด้วย ละครรำ เช่น โนห์รา ชาตรี ฯลฯ ละครร้อง โขน ลิเก ระบำ (ประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่) รำ (ประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่) ฟ้อน (ประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่) เซิ้ง (ประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่) หุ่น เช่น หุ่นละครเล็ก หุ่นกระบอก หนังใหญ่ หนังตะลุง การเขียนบทร้องหรือบทละครรำ (เพื่อการแสดง)<br /><br /> <span> </span><strong>4.2 การดนตรี</strong><span> </span>แบ่งออกเป็นดนตรีไทย และดนตรีสากล<br /><br /> - นักดนตรี ต้องเป็นนักดนตรีเด่นเฉพาะเครื่องมือ<br /><br /> - นักร้อง ต้องมีความสามารถทั้งร้องส่งและร้องรับในการแสดงต่าง ๆ และสามารถแหล่ทำนองต่าง ๆ ได้ (แหล่เฉพาะแบบดั้งเดิม)<br /><br /> - นักประพันธ์เพลง ต้องประพันธ์ทั้งทางร้องและทางดนตรี<br /><br /> - ผู้อำนวยเพลง ต้องเป็นผู้อำนวยเพลงดีเด่น<br /><br /> - ผู้ผลิตเครื่องดนตรี<br /><br /> <span> </span><strong>4.3 การแสดงพื้นบ้าน</strong><span> </span>ประกอบด้วย หมอลำ ซอ ลำตัด เพลงฉ่อย เพลงอีแซว เพลงบอก สวดคฤหัสถ์ ฯลฯ<br /><br />ขอขอบคุณข้อมูลจาก : <a target="_blank" rel="nofollow noopener" href="http://art2.culture.go.th/index.php">กรมส่งเสริมวัฒนธรรม</a></div>