คณะเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์
044-153062 ต่อ 3005
ศูนย์ความเป็นเลิศ ด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์และธุรกิจดิจิทัล EDEC
การเพิ่มขึ้นข องเว็บไซต์ทางธุรกิจและอัตราการเติบโตของการใช้อินเทอร์เน็ตที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ธุรกิจออนไลน์ได้รับความนิยม และกลายเป็นตลาดขนาดใหญ่ในโลกไร้พรมแดนที่สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ตรงและรวดเร็ว ไร้ขีดจำกัดเรื่องเวลาและสถานที่ โดยเฉพาะในปัจจุบันจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิค-19 กับนโยบายของภาครัฐหยุดเชื้อ เพื่อชาติ ด้วยการรณรงค์ให้คนไทยอยู่บ้านมากขึ้น ทำงานที่บ้าน (Work from home) ผลที่ตามมาคือคนไทยใช้ชีวิตบนโลกออนไลน์มากขึ้นด้วย ไม่ว่าจะเป็นการซื้อขายสินค้า อาหาร การศึกษา การติดต่อสื่อสาร ผ่านการใช้งานทางอินเทอร์เน็ต
ข้อมูลจากสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) (สพธอ.) หรือ ETDA ได้ สำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2562 ซึ่งมีผู้เข้ามาร่วมตอบแบบสำรวจผ่านทางเว็บไซต์จำนวน 14,242 คน พบว่า คนไทยใช้อินเตอร์เน็ตโดยเฉลี่ย 10 ชั่วโมง 22 นาทีต่อวัน เพิ่มขึ้นจากปี 61 จำนวน 17 นาที ผู้ที่ใช้อินเทอร์เน็ตต่อวันเยอะที่สุด 10.36 ชั่วโมงต่อวัน อายุระหว่าง 19-38 ปี ต่ำสุด 9.49 ชั่วโมงต่อวัน อายุระหว่าง39-54 ปี อาชีพที่ใช้อินเทอร์เน็ตเยอะที่สุดคือ นักเรียน/นักศึกษา 10.50 ชั่วโมงต่อวัน ส่วนอาชีพอื่น ๆ ไม่ต่างกันมากโดยเฉลี่ยมากกว่า 10.30 ชั่วโมงต่อวัน ชั่วโมงการใช้อินเทอร์เน็ตแยกตามพื้นที่ใกล้เคียงกันในทุกพื้นที่แสดงถึง ความครอบคลุมและทั่วถึงของอินเทอร์เน็ตทั่วประเทศไทย ด้วยการสนับสนุนของภาครัฐภายใต้การดำเนินงานของกระทรวง DE โครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงครอบคลุม 24,700 หมู่บ้าน บริการ Free WI-FI ครอบคลุมชุมชนกว่า 10,000 จุด (ตามโรงการเน็ตประชารัฐที่ได้เริ่มดำเนินโครงการตั้งแต่ปี 2560)กิจกรรมออนไลน์ยอดฮิตของคนไทย 5 อันดับแรกในปี 2562 ลำดับที่ 1 Social Media ร้อยละ 91.2 ซึ่งครองอันดับ 1 กิจกรรมยอดฮิต 7 ปี ซ้อน ลำดับที่ 2 การดูหนัง/ฟังเพลง ร้อยละ 71.2 ลำดับที่ 3 การค้นหาข้อมูลออนไลน์ 70.7 ลำดับที่ 4 การรับ-ส่ง อีเมลล์ ร้อยละ 62.5 และลำดับที่ 5 การชำระเงินค่าสินค้าและบริการ ร้อยละ 60.6 การชำระเงินค่าสินค้าและบริการออนไลน์ติด 1 ใน 5 กิจกรรมยอดฮิตเป็นปีแรก แสดงถึง ความเชื่อมั่นในความปลอดภัยของบริการออนไลน์ ช่องทางไลน์ Line ยังครองแชมป์ช่องทางออนไลน์ที่คนไทยใช้ติดต่อสื่อสารกันสูงสุดร้อยละ 98.5 รองลงมาคือ Facebook Messenger ร้อยละ 89.9 (ที่มา: https://www.etda.or.th/publishing-detail/thailand-internet-user-behavior-2019-slides.html)
รัฐบาลปัจจุบันได้เล็งเห็นความสำคัญของธุรกิจทางอิเล็กทรอนิกส์ จึงได้มีมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2553 เห็นชอบให้จัดตั้ง สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ สพธอ. ตาม พ.ร.ฎ. จัดตั้งสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2554 ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2554 เพื่อพัฒนาส่งเสริมและสนับสนุนการทำธุรกรรมออนไลน์ อันรวมถึง อีคอมเมิร์ซ (e-Commerce) ของประเทศให้สอดคล้องรับตามความต้องการของภาคส่วนต่างๆ จากนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (พ.ศ. 2561-2580) มีวิสัยทัศน์ของแผนคือ “การปฏิรูปประเทศไทยไปสู่ดิจิทัลไทยแลนด์” โดยการสร้างสรรค์และใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างเต็มศักยภาพในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานนวัตกรรมข้อมูล ทุนมนุษย์ และทรัพยากรอื่นใด เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ประเทศไทยถือเป็นประเทศที่มีอัตราการเติบโตของ B2C (Business to Consumer) สูงเป็นอันดับหนึ่ง ของอาเซียนเมื่อเทียบมูลค่าระหว่างปี 2559 กับปี 2560 พบว่า มีมูลค่าเพิ่มขึ้นกว่า 160,000 ล้านบาท จะเห็นได้ว่า ธุรกิจ e-Commerce โดยส่วนใหญ่ จะมีทิศทางการเติบโตเพิ่มขึ้นทุกปีอย่างมีนัยสำคัญ โดยมีแรงสนับสนุนจาก 4 ปัจจัยหลัก ได้แก่ (ที่มา: แผนขับเคลื่อนการพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ฉบับทบทวน (พ.ศ. 2561-2565) P.4)
ข้อมูลจากสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) (สพธอ.) หรือ ETDA ได้ สำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2562 ซึ่งมีผู้เข้ามาร่วมตอบแบบสำรวจผ่านทางเว็บไซต์จำนวน 14,242 คน พบว่า คนไทยใช้อินเตอร์เน็ตโดยเฉลี่ย 10 ชั่วโมง 22 นาทีต่อวัน เพิ่มขึ้นจากปี 61 จำนวน 17 นาที ผู้ที่ใช้อินเทอร์เน็ตต่อวันเยอะที่สุด 10.36 ชั่วโมงต่อวัน อายุระหว่าง 19-38 ปี ต่ำสุด 9.49 ชั่วโมงต่อวัน อายุระหว่าง39-54 ปี อาชีพที่ใช้อินเทอร์เน็ตเยอะที่สุดคือ นักเรียน/นักศึกษา 10.50 ชั่วโมงต่อวัน ส่วนอาชีพอื่น ๆ ไม่ต่างกันมากโดยเฉลี่ยมากกว่า 10.30 ชั่วโมงต่อวัน ชั่วโมงการใช้อินเทอร์เน็ตแยกตามพื้นที่ใกล้เคียงกันในทุกพื้นที่แสดงถึง ความครอบคลุมและทั่วถึงของอินเทอร์เน็ตทั่วประเทศไทย ด้วยการสนับสนุนของภาครัฐภายใต้การดำเนินงานของกระทรวง DE โครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงครอบคลุม 24,700 หมู่บ้าน บริการ Free WI-FI ครอบคลุมชุมชนกว่า 10,000 จุด (ตามโรงการเน็ตประชารัฐที่ได้เริ่มดำเนินโครงการตั้งแต่ปี 2560)กิจกรรมออนไลน์ยอดฮิตของคนไทย 5 อันดับแรกในปี 2562 ลำดับที่ 1 Social Media ร้อยละ 91.2 ซึ่งครองอันดับ 1 กิจกรรมยอดฮิต 7 ปี ซ้อน ลำดับที่ 2 การดูหนัง/ฟังเพลง ร้อยละ 71.2 ลำดับที่ 3 การค้นหาข้อมูลออนไลน์ 70.7 ลำดับที่ 4 การรับ-ส่ง อีเมลล์ ร้อยละ 62.5 และลำดับที่ 5 การชำระเงินค่าสินค้าและบริการ ร้อยละ 60.6 การชำระเงินค่าสินค้าและบริการออนไลน์ติด 1 ใน 5 กิจกรรมยอดฮิตเป็นปีแรก แสดงถึง ความเชื่อมั่นในความปลอดภัยของบริการออนไลน์ ช่องทางไลน์ Line ยังครองแชมป์ช่องทางออนไลน์ที่คนไทยใช้ติดต่อสื่อสารกันสูงสุดร้อยละ 98.5 รองลงมาคือ Facebook Messenger ร้อยละ 89.9 (ที่มา: https://www.etda.or.th/publishing-detail/thailand-internet-user-behavior-2019-slides.html)
รัฐบาลปัจจุบันได้เล็งเห็นความสำคัญของธุรกิจทางอิเล็กทรอนิกส์ จึงได้มีมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2553 เห็นชอบให้จัดตั้ง สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ สพธอ. ตาม พ.ร.ฎ. จัดตั้งสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2554 ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2554 เพื่อพัฒนาส่งเสริมและสนับสนุนการทำธุรกรรมออนไลน์ อันรวมถึง อีคอมเมิร์ซ (e-Commerce) ของประเทศให้สอดคล้องรับตามความต้องการของภาคส่วนต่างๆ จากนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (พ.ศ. 2561-2580) มีวิสัยทัศน์ของแผนคือ “การปฏิรูปประเทศไทยไปสู่ดิจิทัลไทยแลนด์” โดยการสร้างสรรค์และใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างเต็มศักยภาพในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานนวัตกรรมข้อมูล ทุนมนุษย์ และทรัพยากรอื่นใด เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ประเทศไทยถือเป็นประเทศที่มีอัตราการเติบโตของ B2C (Business to Consumer) สูงเป็นอันดับหนึ่ง ของอาเซียนเมื่อเทียบมูลค่าระหว่างปี 2559 กับปี 2560 พบว่า มีมูลค่าเพิ่มขึ้นกว่า 160,000 ล้านบาท จะเห็นได้ว่า ธุรกิจ e-Commerce โดยส่วนใหญ่ จะมีทิศทางการเติบโตเพิ่มขึ้นทุกปีอย่างมีนัยสำคัญ โดยมีแรงสนับสนุนจาก 4 ปัจจัยหลัก ได้แก่ (ที่มา: แผนขับเคลื่อนการพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ฉบับทบทวน (พ.ศ. 2561-2565) P.4)
- มีการลงทุนจากผู้ประกอบการด้าน e-Commerce จากต่างประเทศมากขึ้นทำให้ผู้ประกอบการที่ขายออนไลน์มีช่องทางการขายเพิ่มขึ้น สร้างมูลค่าขายที่เพิ่มขึ้นตาม การแข่งขันเหล่านี้ส่งผลโดยตรงต่อการรับรู้และตระหนัก ของผู้บริโภคต่อ e-Commerce ทั้งยังกระตุ้นให้ผู้บริโภคหันมาให้ความสนใจ และจับจ่ายใช้สอยผ่าน e-Commerce มากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
- ผู้ประกอบการ e-Commerce ในประเทศไทยมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยในปี พ.ศ. 2560 ที่ผ่านมา ประเทศไทยมีจำนวนผู้ประกอบการ e-Commerce ทั้งหมด 644,071 ราย เพิ่มจากปี พ.ศ. 2559 กว่าร้อยละ 10 ของกลุ่มผู้ประกอบการทั้งหมด แสดงถึงศักยภาพในการเติบโตของ e-Commerce ไทย
- ประเทศไทยมีการพัฒนาด้าน e-Commerce ecosystem อย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นด้าน e-Logistics ที่มีผู้ประกอบการเข้ามาในตลาดมากขึ้น ทั้งการพัฒนาของไปรษณีย์ไทย Kerry Express, Shippop, Sokochan เป็นต้น ส่งผลให้พ่อค้าแม่ค้า e-Commerce มีทางเลือกมาขึ้น ด้าน e-Payment ที่เข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคมากขึ้น ก่อให้เกิดความสะดวกรวดเร็ว และมีความปลอดภัย ทำให้การขายออนไลน์ เป็นเรื่องง่าย ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป และเป็นที่นิยมในทุกๆ วัย โดยเฉพาะวัยรุ่นและวัยทำงาน
- การส่งเสริมด้าน e-Commerce ผ่านโครงการต่างๆ ของภาครัฐ เช่น โครงการเน็ตประชารัฐ ทำให้ชุมชนที่อยู่ห่างไกลสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้มากขึ้นก่อให้เกิดความสะดวกในการติดต่อสื่อสารมากขึ้น
นอกจากปัจจัยทั้ง 4 ประการที่กล่าวมา ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่ส่งเสริมการเจริญเติบโตของประเทศไทย ทั้งปัจจัยภายในปละภายนอกองค์กรของผู้ประกอบการ การตระหนักรู้ของผู้ประกอบการที่เห็นโอกาสของการสร้างธุรกิจ e-Commerce เพื่อแข่งขันแย่งส่วนแบ่งทางการตลาด ทำให้เกิดแพลตฟอร์มที่มีความหลากหลายตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค การนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาช่วยในการพัฒนาธุรกิจ เช่น ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligent) และข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) เป็นต้น และอีกปัจจัยที่มีผลต่อการเติบโตของธุรกิจ e-Commerce คือ การมีบุคลากรผู้เชี่ยวชาญด้าน e-Commerce ซึ่งถือเป็นปัจจัยที่สำคัญที่ภาครัฐและเอกชนต้องร่วมมือส่งเสริมให้มีการพัฒนาบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญเพื่อเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาธุรกิจ e-Commerce ของประเทศ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ได้ดำเนินการปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย (Re-Profiling, RMUTI) ให้สอดคล้องกับแนวทางการศึกษาและการกำหนดเป้าหมายของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน โดยคำนึงถึงท้องถิ่น ประเทศ และนานาชาติ ดังรูปแบบของการปรับเปลี่ยน (Transforming) ของยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
จากพันธกิจปัจจุบันสู่ความเป็น SMART University เป้าหมายมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน จะปรับบทบาทตัวเองโดยปรับจุดยืนของมหาวิทยาลัยใหม่ (Re-positioning, RMUTI) ด้วยการอภิวัฒน์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน พลิกฟื้นพื้นที่ราบสูงของไทยสู่ความยั่งยืนด้วย “นวัตกรรม” ดังคำกล่าวของ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในที่ประชุมคณะกรรมการที่ปรึกษาการพัฒนาระบบนวัตกรรมของประเทศ เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2558 ที่ว่า “เปลี่ยนผ่านประเทศไทยสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ด้วยนวัตกรรม”
แผนยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ฉบับที่ 3 ระยะ 5 ปี พ.ศ. 2560-2564) กำหนดประเด็นยุทธศาสตร์และเป้าประสงค์ ดังนี
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ได้ดำเนินการปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย (Re-Profiling, RMUTI) ให้สอดคล้องกับแนวทางการศึกษาและการกำหนดเป้าหมายของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน โดยคำนึงถึงท้องถิ่น ประเทศ และนานาชาติ ดังรูปแบบของการปรับเปลี่ยน (Transforming) ของยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
จากพันธกิจปัจจุบันสู่ความเป็น SMART University เป้าหมายมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน จะปรับบทบาทตัวเองโดยปรับจุดยืนของมหาวิทยาลัยใหม่ (Re-positioning, RMUTI) ด้วยการอภิวัฒน์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน พลิกฟื้นพื้นที่ราบสูงของไทยสู่ความยั่งยืนด้วย “นวัตกรรม” ดังคำกล่าวของ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในที่ประชุมคณะกรรมการที่ปรึกษาการพัฒนาระบบนวัตกรรมของประเทศ เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2558 ที่ว่า “เปลี่ยนผ่านประเทศไทยสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ด้วยนวัตกรรม”
แผนยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ฉบับที่ 3 ระยะ 5 ปี พ.ศ. 2560-2564) กำหนดประเด็นยุทธศาสตร์และเป้าประสงค์ ดังนี
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 : ผลิตและพัฒนาบัณฑิตนักปฏิบัติที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ
เป้าประสงค์ที่ 1.1 คุณลักษณะบัณฑิตมหาวิทยาลัยที่สามารถตอบสนอง 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ
เป้าประสงค์ที่ 1.2 นวัตกรรมการศึกษาที่สร้างบัณฑิตตามคุณลักษณะบัณฑิตของมหาวิทยาลัย
เป้าประสงค์ที่ 1.3 ระบบ กลไก และกระบวนการที่ส่งเสริมและสนับสุนนการสร้างนวัตกรรมการศึกษา
เป้าประสงค์ที่ 1.4 ทรัพยากรที่สนับสนุนการสร้างบัณฑิตนักปฏิบัติ และสนับสนุนการสร้างนวัตกรรมการศึกษา
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 : สร้างความเข้มแข็งของงานวิจัย พัฒนา และการต่อยอดสู่นวัตกรรมอย่างมีประสิทธิภาพ
เป้าประสงค์ที่ 2.1 งานวิจัย งานสร้างสรรค์ นวัตกรรม ที่มีคุณภาพ มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง และได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
เป้าประสงค์ที่ 2.2 งานวิจัย งานสร้างสรรค์ นวัตกรรม มีศักยภาพสามารถตอบโจทย์การพัฒนา 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายของไทย
เป้าประสงค์ที่ 2.3 ระบบ กลไก และกระบวนการ ที่ส่งเสริมและสนับสนุน งานวิจัย งานสร้างสรรค์ นวัตกรรม
เป้าประสงค์ที่ 2.4 ทรัพยากรที่สนับสนุนงานวิจัย งานสร้างสรรค์ นวัตกรรม และพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 : เสริมสร้างชุมชนนวัตกรรม (Communities of Innovation) เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและรายได้ของชุมชนในพื้นที่
เป้าประสงค์ที่ 3.1 ชุมชนต้นแบบในด้านการสร้างหรือการใช้นวัตกรรม/บริการวิชาการด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและสังคมอย่างยั่งยืน
เป้าประสงค์ที่ 3.2 ผู้รับบริการมีความพึงพอใจต่อการบริการวิชาการและถ่ายทอดนวัตกรรมของมหาวิทยาลัย
เป้าประสงค์ที่ 3.3 ระบบ กลไก และกระบวนการ ที่ส่งเสริมและสนับสนุน การนำนวัตกรรมสู่ชมชน สังคม
เป้าประสงค์ที่ 3.4 บุคลากรสามารถ่ายทอดองค์ความรู้และนวัตกรรม สู่ชมชน สังคม
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 : ปฏิรูประบบบริหารจัดการมหาวิทยาลัยสู่ความเป็นเลิศในยุคดิจิทัล
เป้าประสงค์ที่ 4.1 การพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ/การบริการจัดการงบประมาณ และทรัพย์สินให้เกิดประโยชน์สูงสุด
เป้าประสงค์ที่ 4.2 ผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มีความเชื่อมั่นและความพึงพอใจต่อระบบ คุณภาพการบริหารจัดการของมหาวิทยาลัย
เป้าประสงค์ที่ 4.3 ระบบ กลไก และกระบวนการ ที่ส่งเสริม และสนับสนุนการปฏิรูปการบริหารจัดการเพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย
เป้าประสงค์ที่ 4.4 ทรัพยากรมนุษย์และระบบเทคโนโลยีสารสนเทศได้รับการพัฒนาเพื่อปฏิรูปองค์สู่สู่ยุคดิจิทัล และขับเคลื่อนคลัสเตอร์ของมหาวิทยาลัย
จากความต้องการพัฒนาธุรกิจเข้าสู่พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของผู้ประกอบการ ความต้องการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในสถาบันการศึกษาทั้งระดับพื้นฐาน มัธยมศึกษา และอุดมศึกษา เพื่อใช้ในการพัฒนาบทเรียนสู่การเรียนการสอนระบบออนไลน์ รวมถึงนักศึกษา ชุมชนที่เกี่ยวข้องที่ต้องเสริมสร้างศักยภาพของตนเองรองรับการเติบโตของการตลาดออนไลน์ เพื่อสนับสนุน ส่งเสริม และพัฒนาบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน เพื่อสู่การพัฒนาธุรกิจ e-Commerce ของประเทศ สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 ผลิตและพัฒนาบัณฑิตนักปฏิบัติที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของชาติ และยุทธศาสตร์ที่ 3 เสริมสร้างชุมชนนวัตกรรม (Communities of Innovation) เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและรายได้ของชุมชนในพื้นที่ ด้วยศักยภาพของบุคลากรในคณะเทคโนโลยีการจัดการที่มีความรู้เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจอย่างครบวงจร ทั้งสาขาการจัดการ การตลาด การบัญชี ระบบสารสนเทศทางคอมพิวเตอร์ ภาษาศาสตร์ สาขาการท่องเที่ยวและการโรงแรมและเทคโนโลยีมัลติมีเดีย ประกอบกับคณะเทคโนโลยีการจัดการมีครุภัณฑ์และอุปกรณ์ รวมถึงห้องเรียนที่พร้อมให้บริการจัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกทางด้านเทคโนโลยีออนไลน์ เพื่อให้มีการใช้ทรัพย์กรอย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุดของคณะ จากอุปกรณ์ เทคโนโลยี ครุภัณฑ์ห้องเรียน ห้องประชุม และบุคลากร ทั้งเป็นอีกช่องทางที่สามารถฝึกบัณฑิตให้เป็นนักปฏิบัติรวมถึงสร้างรายได้ให้แก่คณะต่อไป
คณะเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ จึงเห็นควรดำเนินการจัดตั้ง ศูนย์ความเป็นเลิศด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์และธุรกิจดิจิทัล เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ และสร้างบัณฑิตนักปฏิบัติให้มีความรู้ความสามารถทางด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce) เป็นศูนย์การเรียนรู้สำหรับผู้เริ่มต้นดำเนินธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นศูนย์กลางการจัดอบรมหลักสูตร ที่เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีเพื่อธุรกิจ ใช้เป็นสถานที่เพื่อจัดประชุมกลุ่มธุรกิจให้คำปรึกษาแก่ผู้ประกอบการหรือผู้ที่ประสงค์จะประกอบธุรกิจ และเป็นอีกช่องทางในหาให้บริการทางวิชาการเพื่อเกิดรายได้แก่คณะต่อไป
ภารกิจ
ศูนย์ความเป็นเลิศด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์และธุรกิจดิจิทัล สังกัดคณะเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ มีวิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์ ดังนี้
วิสัยทัศน์
“เป็นผู้นำในการให้บริการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ครบวงจร ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ”
พันธกิจ
1. พัฒนาบุคลากรด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ผ่านหลักสูตรอบรมต่างๆ ที่มีความหลากหลายครบวงจร เช่น ด้านการตลาดออนไลน์ การพัฒนาเว็บไซต์ การเขียนข่าวประชาสัมพันธ์ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ การสร้างโอกาสธุรกิจออนไลน์ การจัดการ การบัญชีและระบบสารสนเทศ
2. เป็นศูนย์ฝึกบัณฑิตนักปฏิบัติด้านพาณชิย์อิเล็กทรอนิกส์และการเป็นผู้ประกอบการออนไลน์ และฝึกทักษะทางด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทางธุรกิจ
3. ให้บริการและให้คำปรึกษาเกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์ Hardware และ Software และการประกอบธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
4. พัฒนา Application และผลิตสื่อทางด้านธุรกิจทุกชนิด
ยุทธศาสตร์
1. การพัฒนาและเสริมสร้างความสามารถของผู้ประกอบการและบุคลากรสู่ยุค 4.0
2. ผลิตและพัฒนาบัณฑิตนักปฏิบัติที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติและมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
3. เสริมสร้างและยกระดับชุมชุนในพื้นที่เพื่อคุณภาพชีวิตและรายได้ที่ดีขึ้น
4. ส่งเสริมและพัฒนาสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อผู้ประกอบการและหน่วยงานภายนอก
วัตถุประสงค์
1. เป็นศูนย์เรียนรู้สำหรับผู้เริ่มต้นทำธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และผู้ประกอบการที่ต้องการพัฒนาศักยภาพของตนเพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในยุค 4.0 หรือ ในโลกยุค Disruptive World
2. จัดอบรมหลักสูตรต่างๆ เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีเพื่อธุรกิจ โดยให้นักศึกษาร่วมเป็นพี่เลี้ยงและให้คำแนะนำในการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อนำทฤษฎีสู่การปฏิบัติ
3. เป็นศูนย์กลางในการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชนผ่านช่องทางออนไลน์ เพื่อเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของชุมชนท้องถิ่น ก่อให้เกิดการสร้างงาน สร้างรายได้ นำมาซึ่งคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
4. เป็นสถานที่แลกเปลี่ยนความรู้ ระหว่างสถาบันการศึกษา ผู้ประกอบการ ชุมชน หน่วยงานภายนอกทั้งภาครัฐและเอกชน พร้อมให้บริการเช่าสถานที่และอุปกรณ์ในการฝึกอบรมพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยี
Vision
คณะเทคโนโลยีการจัดการ ผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติที่มีคุณธรรม นำวิชาการ บูรณาการเทคโนโลยีและนวัตกรรม สู่สังคมอย่างยั่งยืน
สาขาวิชา
Our Contacts
145 หมู่ 15 ต.นอกเมือง อ.เมือง
จ.สุรินทร์, 32000
โทรศัพท์ 044-153062 ต่อ 3005
โทรสาร 044-520764