คณะเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์
044-153062 ต่อ 3005
ปรัชญา (Philosophy) คุณธรรมนำหน้า ปัญญานำทาง สร้างสรรค์นวัตกรรม
ปณิธาน (Determination) สร้างคนสู่งาน เชี่ยวชาญเทคโนโลยี
วิสัยทัศน์ (Vision) ผู้นำการสร้างทักษะอาชีพ ด้านบริหารธุรกิจ และอุตสาหกรรมบริการ ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมสู่สังคม
เป้าหมายของวิสัยทัศน์ของคณะฯ เป็น 1 ใน 5 ของภาคอีสาน
เป้าหมายของวิสัยทัศน์ของคณะฯ เป็น 1 ใน 5 ของภาคอีสาน
พันธกิจ (Mission)
- สร้างและพัฒนาศักยภาพผู้เรียนที่เน้นการเรียนการสอนควบคู่กับการปฏิบัติการจริงด้วยการบูรณาการเทคโนโลยีและนวัตกรรมให้มีความเชี่ยวชาญและทักษะที่มีคุณภาพตามมาตรฐาน สามารถสร้างนวัตกรรม และผู้ประกอบการในการขับเคลื่อนธุรกิจและสังคม
- สร้างนวัตกรรมจากงานวิจัย การบริการวิชาการ สามารถนำไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์สู่การสร้างมูลค่าเพิ่มต่อชุมชนและสังคม
- ส่งเสริมบทบาทความร่วมมือกับภาครัฐ และภาคเอกชน ทั้งในประเทศและต่างประเทศเพื่อสนับสนุนและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม
- สนองโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม เพื่อพัฒนาท้องถิ่น สังคม สู่ความยั่งยืน
ทิศทางการบริหารคณะเทคโนโลยีการจัดการ
นโยบาย (Policy)
- แผนยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน สู่ความเป็นเลิศอย่างยั่งยืน ฉบับที่ 4 ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2565 - 2569) และแผนที่เส้นทางกลยุทธ์ของมทร.อีสาน (Strategy Road Map : RMUTI)
- การจัดการการเรียนการสอนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานสากล และคุณภาพตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา (TQF) ปรับปรุงหลักสูตรให้มีความทันสมัย หลักสูตรเชิงบูรณาการ และพัฒนาหลักสูตรให้ตอบสนองกับความต้องการของผู้รับบริการในปัจจุบัน มุ่งผลิตบัณฑิตนักปฎิบัติ ตามคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ สอดคล้องกับการพัฒนาประเทศเข้าสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0
- ดำเนินการตามแนวทางการประเมินคุณภาพการศึกษาทั้งระดับคณะ และระดับหลักสูตร ได้แก่ การประกันคุณภาพการศึกษาภายในตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ (EdPEx) ฉบับปี 2563-2566 การประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2557 กฎกระทรวงประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 แนวทางการประเมินคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาตามมาตรฐานการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2561 และกฎหมายที่เกี่ยวข้องไปปฏิบัติ
- การพัฒนาระบบ e-Learning เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลา Lifelong Learning, Three–Stage Life เป็น Multi–Stage Life ตอบโจทย์วิถีชีวิตรูปแบบใหม่ และการเรียนรู้ของคนทุกช่วงวัย ที่ต้องเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเองและสร้างทักษะใหม่ ๆ อยู่เสมอ โดยตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าในยุคปัจจุบัน
- บัณฑิตพันธุ์ใหม่ และอาจารย์พันธุ์ใหม่ การพัฒนาผู้เรียนให้เป็นบัณฑิตพันธุ์ใหม่ ผู้สอนต้องพัฒนาความรู้และทักษะให้ทันกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปของโลกปัจจุบัน โดยผู้สอนต้องรับรู้และเข้าใจถึงพฤติกรรมและแนวความคิดของผู้เรียนที่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย
- ส่งเสริมและสนับสนุนบุคลากรสายวิชาการในการเสนอขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ ให้บุคลากรสายวิชาการมีความคล่องตัวในการปฏิบัติงานทางวิชาการมากขึ้น (Empowerment) และส่งเสริมสนับสนุนบุคลากรสายสนับสนุนเสนอกำหนดตำแหน่ง ยกระดับคุณภาพชีวิตของบุคลากรสายสนับสนุนให้ดีขึ้น ตลอดจนส่งเสริมและจูงใจให้บุคลากรเข้ารับการฝึกอบรม ศึกษาเพิ่มเติม เพื่อเพิ่มทักษะ ความรู้ ความสามารถ ให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น และนำระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานที่เป็นธรรมตามหลักธรรมาภิบาลไปปฏิบัติ
- ส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างงานวิจัย นวัตกรรม รวมถึงการผลิตตำรา วารสารทางวิชาการที่ได้มาตรฐาน สนับสนุนการตีพิมพ์ เผยแพร่ งานวิจัยทั้งในและต่างประเทศหรือเข้าร่วมประชุมวิชาการ ตลอดจนส่งเสริมบริการวิชาการ การถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชนและท้องถิ่น สร้างมูลค่าเพิ่มเพื่อนำไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์
- สร้างและส่งเสริมความร่วมมือกับพหุภาคี ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ทั้งด้านวิชาชีพและวิชาการ โดยเฉพาะในกลุ่มอาเซียน อาศัยผู้นำภาครัฐ เอกชน ศิษย์ปัจจุบันและศิษย์เก่าให้มีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และทำโครงการ/กิจกรรมร่วมกันมากขึ้น
- พัฒนาองค์กรสมัยใหม่ตามรูปแบบองค์กรการเรียนรู้ (Learning Organization) องค์กรสมรรถนะสูง (High Performance Organization ) การบริหารจัดการตามแนวคิด การจัดการภาครัฐสมัยใหม่ (New Public Management) แนวคิดรัฐบาลดิจิทัล (Digital Government) และการบริหารจัดการโดยยึดหลักธรรมาภิบาล (Good Governance) และนโยบายการขับเคลื่อนประเทศสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0
- การบริหารแบบไม่มีไซโล การปรับองค์กร และการสร้าง Virtual Organization, Speed Boat Model, Back Office เปลี่ยนผ่านระบบการบริหารองค์กรสู่ยุคดิจิทัล และปรับรูปแบบการทำงานจากเดิมที่ทำงานแยกหน่วยงาน/สาขา ให้ปรับเป็นการทำงานเชิงบูรณาการอย่างมีส่วนร่วมทุกศาสตร์ทุกสาขา รวมถึงปรับตัวอย่างรวดเร็ว โดยการนำเทคโนโลยีมาเสริมสมรรถนะขององค์กร เพื่อให้สามารถแข่งขันและก้าวทันโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว
- น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDG) ขององค์การสหประชาชาติ และนโยบาย โมเดลเศรษฐกิจ BCG หรือ โมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน มาประยุกต์ใช้ในการบริหารงานของคณะเทคโนโลยีการจัดการ เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่สามารถพึ่งพาตนเองได้ เพื่อเป็นการยกระดับมาตรฐานขององค์กร และตอบสนองการใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่าอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
แนวทางการพัฒนาคณะเทคโนโลยีการจัดการ
- คณะเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ ได้กำหนดแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาคณะเทคโนโลยีการจัดการสู่ความเป็นเลิศ ระยะ 5 ปี (พ.ศ.2565 – 2569) ฉบับปรับปรุง โดยกำหนดวิสัยทัศน์ “ผู้นำการสร้างทักษะอาชีพ ด้านบริหารธุรกิจ และอุตสาหกรรมบริการ ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมสู่สังคม” เป้าหมายวิสัยทัศน์ คือ เป็น 1 ใน 5 ของภาคอีสาน ซึ่งดำเนินการขับเคลื่อนตามแผนยุทธศาสตร์ของการพัฒนามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน สู่ความเป็นเลิศอย่างยั่งยืน ฉบับที่ 4 ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2565 - 2569) และแผนคลัสเตอร์ ดังต่อไปนี้
- พลิกโฉมการสอนให้มีความทันสมัย เพื่อสร้างนักปฏิบัติ มีทักษะอาชีพและการเป็นผู้ประกอบการ
พัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะ สื่อการเรียนการสอนระบบการเรียนรู้แนวใหม่ เพื่อผลิตนักปฏิบัติ มีทักษะอาชีพและการเป็นผู้ประกอบการที่สอดคล้องกับทักษะในศตวรรษที่ 21 พัฒนาการจัดการศึกษาแบบ Lifelong Learning เพื่อตอบสนองการเรียนรู้ของคน ทุกช่วงวัย เช่น หลักสูตร Upskill Reskill เป็นต้น นำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาประยุกต์ในการพัฒนากระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพ และหลักสูตรที่มี Platform การเรียนรู้ตลอดชีวิต มุ่งเน้นในส่วนของหลักสูตรระยะสั้น หลักสูตรที่เป็น Credit Bank หลักสูตรพันธุ์ใหม่ และ Predegree
- สนับสนุนกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่ส่งเสริมให้นักศึกษามีความผูกพัน และมีทักษะการใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นได้อย่างเหมาะสม เพิ่มช่องทางการสื่อสารระหว่างนักศึกษา ผู้ปกครอง และอาจารย์ให้มีประสิทธิภาพ และปรับปรุงพื้นที่ออกกำลังกาย สันทนาการ ลานกิจกรรม สถานที่อ่านหนังสือ ทำการบ้าน ความพร้อมของวัสดุการศึกษาและอุปกรณ์เทคโนโลยีที่ทันสมัย
- พัฒนาอาจารย์ให้มีทักษะการสร้างนวัตกรรม และการสอนที่ผลิตนักปฏิบัติ มีทักษะอาชีพและการเป็นผู้ประกอบการ โดยการนำแนวคิด วิธีการปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ที่ได้รับการพัฒนา ปรับปรุงหรือดัดแปลงให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับการนำมาใช้ในการจัดการศึกษา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหา เพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผล และก่อให้เกิดความสำเร็จสูงสุดแก่ผู้เรียน รวมถึงการนำรูปแบบการจัดการเรียนการสอน เช่น CDIO, Meister, BTEC, Kaizen เป็นต้น มาใช้ในการจัดการเรียนการสอนของหลักสูตร
- ส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรและนักศึกษาให้มีทักษะด้านภาษาอังกฤษตามมาตรฐานสากล โดยเน้นการจัดการเรียนการสอนที่มีการสื่อสาร/สื่อการสอนเป็นภาษาอังกฤษ
- พัฒนาบุคลากรตามจุดเน้น (คลัสเตอร์) ของ มทร.อีสาน และรองรับอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ เช่น การเข้ารับการฝึกอบรม สัมมนา ศึกษาดูงาน การศึกษาในหลักสูตรระยะสั้น การฝึกปฏิบัติ การวิจัยและพัฒนา การฝังตัวในสถานประกอบการ เป็นต้น การพัฒนาบุคลากรดังกล่าวมีความสอดคล้อง กับจุดเน้นคลัสเตอร์ของมหาวิทยาลัย เพื่อให้บุคลากรมีสมรรถณะที่สูงขึ้น มีความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ ทักษะ ความเชี่ยวชาญ ตามจุดเน้นคลัสเตอร์ของมหาวิทยาลัย
- ส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรให้มีความก้าวหน้าทางวิชาการ เพื่อเข้าสู่ตำแหน่งตามสายงาน รองรับจุดเน้นคลัสเตอร์ เป็นกระบวนการส่งเสริมความเชี่ยวชาญของสายวิชาการและสายสนับสนุน ให้มีความก้าวหน้าและความมั่นคงในหน้าที่การงาน ซึ่งเป็นการเพิ่มศักยภาพของบุคลากรให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- พัฒนาห้องปฏิบัติการด้วยการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัย มาเสริมสร้างบัณฑิตนักปฏิบัติ มีทักษะอาชีพและการเป็นผู้ประกอบการ
- ยกระดับห้องปฏิบัติการ ห้องประชุม ให้ได้รับการรับรองมาตรฐานทั้งระดับชาติและนานาชาติ
- ยกระดับงานวิจัย การบริการวิชาการ สร้างนวัตกรรม เพื่อนำไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์
2.1 งานวิจัย การบริการวิชาการ และนวัตกรรม ที่มีคุณภาพ สามารถนำไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์
- พัฒนาบุคลากรให้มีสมรรถนะในการสร้างงานวิจัย การบริการวิชาการ และนวัตกรรม ที่มีคุณภาพ สามารถนำไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ โดยอาศัยการมีส่วนร่วมและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างมหาวิทยาลัยกับชุมชน สามารถพัฒนาชุมชนได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยเปิดโอกาส ส่งเสริมและสนับสนุนให้นักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว
- ส่งเสริมการบริการวิชาการแบบบูรณาการข้ามศาสตร์ที่ก่อให้เกิดรายได้ บูรณาการการเรียนการสอน เพื่อสร้างความเชี่ยวชาญให้แก่นักศึกษา และสร้างความเข้มแข็งให้กับสังคม
2.2 ผลงานวิจัย ได้รับการตีพิมพ์และเผยแพร่ในระดับชาติและนานาชาติ
- ส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรให้มีสมรรถนะด้านการตีพิมพ์และเผยแพร่ผลงานวิจัยในระดับชาติและนานาชาติ เช่น การอบรมเชิงปฏิบัติการ การเขียนผลงานตีพิมพ์ การสร้างเครือข่ายการวิจัยร่วมกับหน่วยงานระดับชาติ และนานาชาติ คลินิกให้คำปรึกษาการตีพิมพ์และเผยแพร่ เป็นต้น เพื่อเสริมสร้างศักยภาพนักวิจัยให้มากยิ่งขึ้น
- ส่งเสริมความร่วมมือกับพหุภาคี ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
3.1 เครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการทั้งในประเทศและต่างประเทศ
- ส่งเสริมความร่วมมือทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถด้านการเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการ และทำนุศิลปวัฒนธรรม อย่างมีประสิทธิภาพ
3.2 การแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเครือข่ายความร่วมมือทั้งในประเทศและต่างประเทศเพื่อพัฒนานวัตกรรม และทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21
- สร้างกิจกรรม/โครงการ ทางวิชาการ ร่วมกับเครือข่ายความร่วมมืออย่างเป็นรูปธรรม เพื่อพัฒนานวัตกรรม และทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 และเกิดความสัมพันธ์อันดี ตลอดจนการสร้างความผูกพัน ความเชื่อมั่นในการจัดกิจกรรมที่มหาวิทยาลัยหรือหน่วยงานได้จัดร่วมกันกับเครือข่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศ
- เปลี่ยนผ่านระบบบริหารองค์กรสู่ยุคดิจิทัล
-
สร้างความพึงพอใจของผู้รับบริการ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และลูกค้ากลุ่มอื่น ต่อการบริหารจัดการ ด้วยการรับฟังเสียงจากผู้เรียนและลูกค้า เพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาให้ตรงต่อความต้องการและทันต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป
-
พัฒนาบุคลากรให้มีทักษะด้านดิจิทัลรองรับ Digital Transformation สามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งในด้านการสื่อสาร การปฏิบัติงาน และการทำงานร่วมกัน หรือใช้เพื่อพัฒนากระบวนการทำงาน หรือระบบงานในองค์กรให้มีความทันสมัยและมีประสิทธิภาพ
-
ส่งเสริมกระบวนการแลกเปลี่ยนรู้วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศทั่วทั้งองค์กร และบูรณาการสู่ภายนอก ตลอดจนการถ่ายทอดความรู้ที่เป็นประโยชน์เพื่อไปใช้ในการสร้างนวัตกรรมและกระบวนการวางแผนเชิงกลยุทธ์
Vision
คณะเทคโนโลยีการจัดการ ผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติที่มีคุณธรรม นำวิชาการ บูรณาการเทคโนโลยีและนวัตกรรม สู่สังคมอย่างยั่งยืน
สาขาวิชา
Our Contacts
145 หมู่ 15 ต.นอกเมือง อ.เมือง
จ.สุรินทร์, 32000
โทรศัพท์ 044-153062 ต่อ 3005
โทรสาร 044-520764