
โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การสร้างสื่อการสอนด้วยนวัตกรรมสุดล้ำ AI
แชร์ Facebook แชร์ LINE แชร์ Twitter
วันศุกร์ที่ 17 พฤศจิกายน 2566 เวลา 09:00 – 16:00 น.
ณ โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ (สุขุมวิท 11) กรุงเทพมหานคร
หลักการและเหตุผล
ในยุคดิจิทัล มีการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยพัฒนารูปแบบการศึกษาให้มีประสิทธิภาพ ด้วยการวิเคราะห์ ออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอน หรือการประเมินผลการเรียนรู้ รวมถึงการนำมาช่วยพัฒนาสื่อการเรียนรู้ให้สอดคล้องและเหมาะสมกับผู้เรียน แต่การเลือกใช้เทคโนโลยีมีทั้งข้อดี และจุดที่ควรระวัง จึงควรรู้เท่าทันเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาการเรียนรู้
การอบรมเชิงปฏิบัติการนี้ เป็นการฝึกปฏิบัติให้กับผู้เข้ารับการอบรมได้นำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ Artificial Intelligence (AI) มาสร้างสื่อการสอนที่น่าสนใจ ซึ่ง AI เป็นระบบคอมพิวเตอร์ที่สามารถเรียนรู้ และประมวลผลข้อมูลโดยอัตโนมัติ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการสร้างสื่อการสอนได้มากมาย อาทิ การใช้ AI ในการเขียนเนื้อหาการสอน การเขียนบทการถ่ายทำ รวมทั้ง การใช้ AI ในการสร้างวิดีโอการสอนแบบอัตโนมัติ
ดังนั้น เพื่อให้ผู้สอนมีความมั่นใจในการออกแบบการสอนที่ทันสมัย ทางสมาคมเครือข่ายการพัฒนาวิชาชีพอาจารย์และองค์กรระดับอุดมศึกษาแห่งประเทศไทย (ควอท) จึงจัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การสร้างสื่อการสอนด้วยนวัตกรรมสุดล้ำ (AI) เพื่อสนับสนุนให้ผู้สอนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการนำเทคโนโลยี AI มาสร้างสื่อการสอนในรูปแบบที่น่าสนใจ และเป็นประโยชน์สูงสุดต่อผู้เรียน
วัตถุประสงค์
- เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยี AI เบื้องต้น
- เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถสร้างสื่อการสอนด้วย AI ได้
กิจกรรมการดำเนินงาน/เนื้อหาในการอบรม
การอบรมผ่านการบรรยาย และการฝึกปฏิบัติการ โดยครอบคลุมเนื้อหา ดังนี้
- ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับ AI
- การใช้งาน AI สร้างสื่อการเรียนรู้
- ภาคปฏิบัติ : การใช้ AI ในการสร้างสื่อวิดีโอการเรียนรู้ ในรูปแบบต่าง ๆ
ผู้เข้าร่วมโครงการ
กลุ่มเป้าหมาย คณาจารย์จากมหาวิทยาลัย/สถาบันอุดมศึกษาของรัฐและในกำกับของรัฐ สถาบันอุดม ศึกษาของเอกชน จำนวน 50 คน
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
- ผู้เข้าอบรมมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยี AI
- ผู้เข้าอบรมสามารถสร้างสื่อการสอนด้วยเทคโนโลยี AI ได้ด้วยตนเอง
ความสอดคล้องกับแนวทางการส่งเสริมคุณภาพการจัดการเรียนการสอนของอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา PSF ในมิติองค์ประกอบที่ 2 สมรรถนะ (Competencies)
ประกอบด้วย 4 มิติ คือ- ออกแบบและวางแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างมีประสิทธิภาพ
- ดำเนินกิจกรรมการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- เสริมสร้างบรรยากาศการเรียนรู้และสนับสนุนการเรียนรู้ของผู้เรียน
- วัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนพร้อมทั้งสามารถให้ข้อมูลป้อนกลับอย่างสร้างสรรค์
ระดับที่ 1
เป็นผู้มีความรู้ความเข้าใจในศาสตร์ของตนและประยุกต์ใช้ได้ มีความรู้ความเข้าใจในศาสตร์การเรียนรู้เบื้องต้น สามารถออกแบบกิจกรรม จัดบรรยากาศ ใช้ทรัพยากรและสื่อการเรียนรู้ โดยคำนึงถึงผู้เรียนและปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ สามารถวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนนำผลประเมินมาใช้ปรับปรุงพัฒนาการจัดการเรียนรู้ พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง เปิดใจรับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้อง และปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพอาจารย์ขององค์กร
การติดตามประเมินผล
- แบบประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมการอบรม
- ผลงานสื่อการสอนด้วย AI ของผู้เข้าอบรมคนละ 1 ชิ้นงาน
วิทยากรและผู้ช่วยวิทยากร
วิทยากร
- อาจารย์กุลเชษฐ์ เล็กประยูร
ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ - ผู้ช่วยศาสตราจารย์นันทวิช เหล่าวิชยา
คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ (ผู้ช่วยวิทยากร)
หน่วยงานดำเนินการ
- สมาคมเครือข่ายการพัฒนาวิชาชีพอาจารย์และองค์กรระดับอุดมศึกษาแห่งประเทศไทย (ควอท)
- อาจารย์วนิดา คูชัยสิทธิ์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
ค่าลงทะเบียน
สมาชิกสมาคม ควอท คนละ 2,000 บาท
บุคคลทั่วไป คนละ 2,500 บาท
***หมายเหตุ สมาชิกประเภทสถาบันสามารถเข้าร่วมได้ 2 คน ในราคาสมาชิก ควอท
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
#คณะเทคโนโลยีการจัดการ
#ประชาสัมพันธ์
Vision
คณะเทคโนโลยีการจัดการ ผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติที่มีคุณธรรม นำวิชาการ บูรณาการเทคโนโลยีและนวัตกรรม สู่สังคมอย่างยั่งยืน
สาขาวิชา
Our Contacts
145 หมู่ 15 ต.นอกเมือง อ.เมือง
จ.สุรินทร์, 32000
โทรศัพท์ 044-153062 ต่อ 3005
โทรสาร 044-520764